Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Archive for สิงหาคม 28th, 2008

triamboy

 

จากความพยายามของนายแพทย์มงคล  ณ  สงขลา  กระทรวงสาธารณสุข  และรวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องในการผลักดันการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา  หรือที่รู้จักกันว่าซีแอล  (CL – Compulsary Licensing)  อย่างเป็นรูปธรรมโดยการประกาศใช้ของประเทศไทย  เพื่อใช้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาในการรักษาโรคโดยไม่มีอุปสรรคเนื่องมาจากค่าใช้จ่าย  (ความแตกต่างทางรายได้)  หรือราคายาได้อย่างทั่วถึงทุกคน  สิทธิเหนือสิทธิบัตรเป็นเพียงในเครื่องมือของความพยายามในการลดต้นทุนการเข้าถึง  (Access  cost)  ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน  ทำให้ทุกคนมีโอกาสอย่างทั่วถึง  และเท่าเทียมมากขึ้นในการได้รับทรัพยากร  โดยได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติซึ่งเป็นผู้ริเริ่มเครื่องมือนี้  รวมถึงข้อตกลงองค์การค้าโลก  และกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย

มากกว่านั้นองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติยังมีความพยายามในการลดต้นทุนการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ  อันเนื่องมาจากความสำคัญของจริยธรรมสิ่งมีชีวิต  (Bioethics)  โดยผ่านเครื่องมือต่างๆที่สร้างขึ้น ดังนี้

1.  กฎระเบียบรับรองการเข้าถึงสาธารณสุข ​โดยกำหนดไว้  ดังนี้

     ม.14 ข้อ 2 (a) ระบุว่า การเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จําเป็นและยาที่จําเป็น เป็นเรื่องสําคัญ  

     ม.15 ข้อ 1 ระบุว่า ประโยชนน์ที่ได้จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือการประยุกต์ใช้ใดๆ ควรแบ่งปันให้แก่สังคมโดยรวม และให้แก่นานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กําลังพัฒนา

2.  ปฏิณญาว่าด้วยจริยธรรมสิ่งมีชีวิต

     มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์รวมทั้งความเท่าเทียมในการกระจายทรัพยากร  มุ่งที่จะพัฒนาจริยธรรมของนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกําหนด นโยบายสาธารณสุขทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ 

เบื้องหลังเจตนารมย์ในการสร้างสรรค์เครื่องมือต่างๆ  เพื่อการลดต้นทุนการเข้าถึงสาธารณสุขของประเทศไทย  มีปัจจัยหลักในการกำหนด  หรือสาเหตุหลัก  ที่พอสรุปได้ดังนี้

1.  ราคายา  และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีราคาสูง

2.  ความสามารถในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล  อาทิ  ค่ายา  ค่าบริการแพทย์  และเครื่องมือทางการแพทย์  เป็นต้น  ของคนส่วนใหญ่ในระดับต่ำ  เนื่องมาจากกำลังซื้อที่น้อยกว่ามากโดยเปรียบเทียบราคายา

3.  ภาวะการกระจุกตัวของสถานบริการทางการแพทย์  และสาธารณสุข  รวมถึงบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความพร้อมในพื้นที่เขตเมืองใหญ่  อาทิ  โรงพยาบาลเฉพาะทาง  โรงพยาบาลศูนย์  เป็นต้น

4.  การกระจายสวัสดิการประชาชนอย่างไม่เท่าเทียม  ในแต่ละกลุ่มบุุคคล  อาทิ  ประกันสังคม  หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  สิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ  สิทธิรักษาพยาบาลพนักงานรัฐวิสาหกิจ  เป็นต้น

5.  ความสูญเสียของสังคมอันเนื่องมาจากการให้ความสำคัญของภาวะไม่จำเป็น  อาทิ  การจ่ายยาเพื่อรักษาโรค  ที่สามารถทดแทนด้วยวิธีการรักษาการแพทย์ทางเลือกอื่น  อาทิ  การออกกำลังกาย  โภชนาการที่ดี  การให้การรักษาทางจิต  (รวมถึงการให้กำลังใจ) ยกตัวอย่างโรคเช่น  การให้ฮอร์โมนในคนวัยทอง  การกินแคลเซียมของโรคทางกระดููก  การกินวิตามินซีเพื่อป้องกันไข้หวัด  เป็นต้น  รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช่จ่ายอันเนื่องมาจากภาวะไม่จำเป็นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี  ในขณะที่ผู้ป่วยในภาวะจำเป็นเนื่องมาจากโรคร้ายแรง  ไม่สามารถเข้าถึงยา  และเครื่องมือทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึง

จากสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น  ล้วนแต่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสาธารณสุขของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย  และรวมถึงของโลกด้วย  ไม่ว่าจะคนจน  คนในพื้นที่ชนบท  พื้นที่นอกเมืองหลวง  คนที่ประกอบอาชีพที่ไม่มีสวัสดการ  เป็นต้น  ทำให้เขาบุคคลเหล่านั้นเสียโอกาสในการดำรงอยู่ของชีวิต  เห็นได้จากจำนวนคนตายอันเนื่องมาจากการป่วยด้วยโรคต่างๆ  จำนวนมาก  ในแต่ละปี  อย่างน้อยข้าพเจ้าคิดว่าไม่สาเหตุใดก็สาเหตุหนึ่งข้างต้นเป็นภาวะเสียง  หรือสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยง  ที่จะส่งเสริมให้โอกาสในการอยู่รอดลดน้อยลง  โดยที่บุคคลเหล่านี้ได้เข้าใจ  และยอมรับความสามารถ  สภาพต่างๆที่เป็นอยู่ของตนเอง  และสังคมอย่างไม่ขัดขืน

ถึงแม้นการประกาศสิทธิเหนือสิทธิบัตรเป็นเพียงการลดต้นทุนการเข้าถึง  ลดอุปสรรคเพียงอย่างเดียวของประชาชนส่วนใหญ่  นั่นคือ  ราคายา  แต่ก็เป็นอุปสรรคหนึ่งอย่างที่ให้โอกาสคนสัดส่วนมากเข้าถึงเมื่อถูกกำจัดไป  หรือทำให้ลดลง  อย่างน้อยโอกาสนี้ถึงแม้เราคนใดคนหนึ่งคิดว่าไม่ได้ใช้ในวันนี้  ข้าพเจ้าคิดว่าสักวันหนึ่งของชีวิตคุณต้องมีโอกาสได้ใช้แน่นอน  โดยที่คุณไม่รู้ตัว

โอกาสที่พอเพียงต่อการอยู่รอดของสมาชิกทุกคนในสังคม  คือ  ความยุติธรรมของสังคม

มาร่วมกันช่วยลดต้นทุนการเข้าถึง

Read Full Post »