Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Archive for สิงหาคม 24th, 2008

เศรษฐศาสตร์ทฤษฎีเกม ว่าด้วยการท้าสาบานของนักการเมืองไทย

 

                “ข้าพเจ้าชอบเสรีภาพที่เสี่ยงอันตรายมากกว่าความสงบสุขใน ความเป็นทาส (Malo periculosam libertatem quan quietum servitium)”  ปาลาแตง

 

                เมื่อคืนวันที่ 26 มิถถุนายน 2551 ผมนั่งฟังอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ฯพณฯนายกสมัคร สุนทรเวช และรัฐมานตรีรายบุคคล โดยรัฐมนตรีรายสุดท้ายที่ถูกอภิปรายในขณะนั้นคือคุณเฉลิม อยู่บำรุง ได้ลุกขึ้นตอบข้อกล่าวหาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ โดยการท้าสาบาน (ซึ่งจริงๆ มิใช่การตอบคำถาม แต่เป็นการเบี่ยงประเด็นอย่างมีชั้นเชิง และ ถูกจริตผู้ดูโดยทั่วไปที่มีความผูกพันธ์และเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งต่อมาเมื่อท่านรัฐมนตรีมหาดไท เฉลิม อยู่บำรุงอภิปรายตอบข้อซักถามเสร็จ นายสุเทพ ก็ได้ลุกขึ้นปฏิเสธที่จะไปสาบานร่วมกันกับ คุณเฉลิม

                จุดนี้เองที่ทำให้หลายต่อหลายคนเกิดข้อสงสัยในใจว่า ตกลงแล้วที่คุณสุเทพ ไม่ไปสาบานกับ คุณเฉลิมเพราะกลัว ที่ตัวเองใส่ร้ายคุณเฉลิมอย่างไม่มีมูลใช่หรือไม่ ? และคุณเฉลิมที่กล้าท้าสาบานกับคุณสุเทพ เป็นผุ้บริสุทธิ์จึงกล้าที่จะท้าสาบานหรือเปล่า ? คำถามนี้มีคำตอบในทางเศรษฐศาสตร์ครับ

                โดยการวิเคราะห์จะเริ่มจาก การตัดกรณีที่ทั้งผู้อภิปราย และ ผู้ถูกอภิปรายจะพูดจริงทั้งคู่ออกไปได้เพราะไม่มีทางเกิดขึ้นจริง เนื่องจากฝ่ายหนึ่งเป้นผู้ตั้งข้อกล่าวหา ในขณะที่อีกฝ่ายต้องหักล้างข้อกล่าวหานั้น ทิศทางของการอภิปราจึงสวนทางกัน ในลำดับถัดมา เราจึงเหลือทางเลือกที่ว่า ฝ่ายหนึ่งฝ่ายบใดโกหก หรือทั้งสองฝ่ายโกหกทั้งคู่เอาไว้ให้พิจารณากัน ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังตารางที่ 1 และ 2 ดังนี้

 

ตารางที่ 1: แสดงผลลัพทธ์การเดินเกมของผู้ท้าสาบาน และ ผู้ได้รับคำท้ากรณีผู้ท้าโกหก[1]

 

 

 นาย B

 

 

 

รับคำท้า

ไม่รับ

 นาย A

ท้าสาบาน

(,+)

(+,-)

ไม่ท้า

(0,0)

(0,0)

 

ตารางที่ 2: แสดงผลลัพทธ์การเดินเกมของผู้ท้าสาบาน และ ผู้ได้รับคำท้ากรณีผู้ท้าสาบานพูดจริง

 

 

 

 นาย B

 

 

รับคำท้า

ไม่รับ

 นาย A

ท้าสาบาน

(+,)

(+,-)

ไม่ท้า

(0,0)

(0,0)

 

                ผลการวิเคราะห์ชี้ว่า แบบแผนการตัดสินใจจะออกมาว่า กลยุทธ์เด่นในกรณีคนโกหกมักจะออกมาในรูปไม่ท้าสาบาน และ ไม่รับคำท้าเสมอ ในขณะที่ผู้ซึ่งพูดความจริงในการอภิปราย จะมีกลยุทธ์เด่นคือการท้าสาบานเสมอ เช่นเดียวกัน เช่นนี้กล่าวได้หรือไม่ว่า นักการเมืองที่เริ่มท้าสาบานก่อน (โดยการท้าสาบานดังกล่าวมีเหตุมีผล และ เป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์) จะเป็นผู้กล่าวความจริงเสมอไป คำตอบคือ ไม่ครับ !!!  นั่นเป็นภาพลวงตา และอย่างที่ผมกล่าวไปในเบื้องต้นว่า นักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจถึงความลึกซึ้งในประเด้นที่ผลกำลังจะกล่าวอธิบายหลังจากนี้

                โดยผมจะแสดงให้ทุกท่านได้เห็นว่า นักการเมืองสามารถที่จะโกหกทั้งคู่ได้โดยมีผุ้กล้าท้า สาบาน อย่างมีเหตุมีผลด้วย เช่นเดียวกัน ในเบื้องต้นผมจะสมมติว่า นักการเมืองที่อภิปรายกล่าวหา และตอบข้อซักถามระหว่างกัน กล่าวเท็จทั้งคู่ โดยต่างฝ่ายต่างกล่าวเท็จเป็นบางส่วน เพื่อให้คำกล่าวหา หรือ คำอธิบายดูน่าเชื่อถือ เช่น นักการเมือง A กล่าวหา นักการเมือง B ในประเด็น ก. ซึ่งจริง และประเด็น ข. ที่ยกเมฆมาพูด นักการเมือง B จึงกุหลักฐานและพยายามจะโกหกเพื่อให้ตนเองรอดพ้นจากข้อกล่าวหา ก. (ซึ่งตนเองทำผิดจริง) ในขณะที่ประเด็น ข. นักการเมือง B สามารถใช้ข้อเท็จจริงมาหักล้างได้ (เพราะนักการเมือง A กล่าวหาด้วยการกล่าวเท็จ) การตัดสินใจของนักการเมือง A และ B ในกรณีนี้จะเป้นเช่นไรสามารถตอบได้จากตารางที่ 3 ต่อไปนี้คือ

 

ตารางที่ 3: แสดงผลลัพทธ์การเดินเกมของผู้ท้าสาบาน และ ผู้ได้รับคำท้ากรณีผู้ท้าสาบาน พูดเท็จทั้งคู่

 

 

 

นาย B

 

 

รับคำท้า

ไม่รับ

นาย A

ท้าสาบาน

(,)

(+,-)

ไม่ท้า

(,+)

(,+)

 

                เราจะพบว่า กรณีที่ทั้งนาย A และ นาย B ต่างโกหก ดุลยภาพกลับกลายเป็น นาย A ท้าสาบาน และนาย B ไม่รับคำสาบาน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น มีคำอธิบายในเชิงทฤษฎีอยู่กล่าวคือ เหตุเพราะการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์นี้ เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน คือนาย A ในกรณีนี้เป็นผุ้ตัดสินใจก่อน (เริ่มท้าก่อน) ดังนั้น เมื่อทั้งสองต่างโกหก นาย B จึงมีแต่เสียกับเสียและปราศจากทางเลือกที่ดี (มีแต่เลวน้อยที่สุด) เพราะ รับคำท้าก็กลัวว่าจะโดนฟ้าลงโทษ หากไม่รับก็เสียหน้าโดนหาว่าโกหก ยิ่งโดยเฉพาะนาย A สาบานไว้แรงเท่าไหร่ ต้นทุนที่จะหน่วงให้นาย B จำต้องเลือกไม่รับคำท้ายิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น (เพราะนาย B จะชั่งน้ำหนักระหว่าเสียหน้ากับผลลบจากคำสาบานอยู่ตลอด)

                บทเรียน การตัดสินใจเชิงกลยุธ์ในวันนี้จึงชี้ว่า แท้จริงแล้ว การที่นักการเมืองซัก คนออกมาท้าทายให้มีการสาบานอย่างแรงๆ ก่อน และ อีกฝ่ายไม่รับคำท้านั้น อาจไม่ได้เป็นเครื่องการันตรีความบริสุทธิ์ และ ขาวสะอาดของเขาผู้กล้าออกมาท้าสาบานเสมอไปหรอกครับ  ทว่าอาจเป็นเพราะประสบการณ์สอนเขาให้รู้จักการเล่นเกม ในลักษณะที่ผมได้แจกแจงให้เห็น ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เราเรียกเกมเช่นว่านี้ว่า เกมปอดแหก (Game of chicken) เพราะผุ้เริ่มเปิดเกมก่อน (กล้าท้าสาบานก่อน) จะเป็นฝ่ายยึดกุมสถานการณ์ได้ และฝ่ายที่ปอดแหกมากกว่าจะพ่ายแพ้ไปในที่สุด

                ทีนี้เราคงกระจ่างกันเสียที่ว่า ทำไมนักการเมืองหลายคนจึงชอบออกมา ท้าสาบานกันนัก (ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์) ซึ่งจริงๆ ยังมีคำอธิบายในแง่รัฐศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ หรือ ศาสตร์อื่นๆ อีกมาก หากสนใจก็ศึกษากันได้ครับ ตอนนี้ผมก็พึ่งซื้อหนังสือเรื่อง พูดไปสองไพเบี้ย ของคุณสมบัติ จันทรวงศ์ ที่วิจัยสังเคราะห์ถึงแนวทางการอภิปรายของนักการเมืองออกมาอย่างเป็นระบบ หากอ่านจบแล้วอาจนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสหน้า สำหรับวันนี้ลาไปก่อน สวัสดีครับ


[1] หากนาย A โกหก แล้วท้าสาบาน นาย A จะได้รับผลลบหาก นาย B รับคำท้า ทว่าหากฝ่ายนาย B ไม่รับคำท้า นาย A จะได้ประโยชน์แทน นาย A จึงไม่มีกลยุทธ์เด่น เพราะการตัดสินใจของนาย A ที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนาย B ด้วย ทว่าในกรณีนี้ นาย B มีกลยุทธ์เด่นคือการรับคำท้า เพราะนาย B รู้ว่าตนเองกล่าวถูกต้องแน่ๆ ดุลยภาพของการตัดสินใจจึงเป็นจุดที่นาย B รอรับคำท้า และนาย A ไม่กล้าท้า (เพราะรู้ว่านาย B รับคำท้าแน่ๆ)

Read Full Post »