Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Posts Tagged ‘นักท่องเที่ยว’

triamboy

อย่างโชคดียิ่ง, กาไม่สามารถปรับตัวเรียนรู้แสงประดิษฐ์เหล่านี้ หรือหลงระเริงไปกับแสงนี้จนลืมพักผ่อน.  มากกว่านั้น,  กากลับเรียนรู้  และปรับพฤติกรรม,  โดยการตีตัวออกห่างจากแสงประดิษฐ์ รวมถึงสิ่งเร้าประดิษฐ์มากมาย  ไปสู่รูปแบบบริบทของสิ่งแวดล้อมที่เคยอาศัยกันมาหลายชัวอายุตามธรรมชาติ. ในเชิงประจักษ์, จึงไม่แปลกใจที่สิ่งมีชีวิตอื่นนอกจาก “มนุษย์”  ,ที่เรียกว่า “สัตว์ป่า”, จึงพยายาม​ “หนี” กลับสู่สมดุลเดิม, พฤติกรรมแบบเดิม  และบริบทแบบเดิมตามธรรมชาติ, แล้วทิ้งเหลือไว้เพียงมนุษย์ในเมืองที่มีแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงของประดิษฐ์ต่างต่าง.

return home

(ภาพถ่ายโดยผู้เขียน ที่สวนสัตว์เขาดิน)

ก่อนพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า, แสุงสุดท้ายยังคงเป็นสัญญาณที่มีความหมายต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิตต่อไป,  รวมถึงนกชนิดหนึ่ง, กา.  แสงในยามน้ีคงสามารถทำหน้าที่ให้สัญญาณแก่กาในการเตือนให้หยุด หรือชะลอการทำลาย  ผ่านกิจกรรมนานาของกา,  อาจหมายรวมถึงสังคม,  เศรษฐกิจ, และการเมืองของกา.  อย่างเห็นได้ชัด, การ “ลากลับรัง” ของกาสามารถถูกยกเป็นตัวอย่างของกิจกรรมที่ได้รับผลกระทบจากแสง (ธรรมชาติ) สุดท้าย, หนึ่งในเงื่อนไขของธรรมชาติที่ยังคงปรากฎอยู่.

ผลจากแสงสุดท้ายนี้, การลากลับรังของกาเป็นการสร้างสมดุล หรือดุลยภาพของกาโดยธรรมชาติ, ที่ถูกกำหนดโดยองค์ประกอบของกิจกรรมนานา  ทั้งการออกหาอาหาร,  การเกี้ยวพา,  การเลี้ยงดูลูกกา,  รวมถึงการพักผ่อน.  การพักผ่อนในระยะเวลาที่คงที่ของกานั้นยังคงดำรงเรื่อยมา, ด้วยถูกกำหนดจากแสงธรรมชาติเกือบเสียทั้งหมด.  ในทางกลับกัน, ไม่ได้หมายความว่าแสงประดิษฐ์โดยมนุษย์จะไม่ส่งผลกระทบต่อสมดุลของกา. เป็นโชคดีของกา, กาไม่สามารถปรับตัวเรียนรู้แสงประดิษฐ์เหล่านี้ หรือหลงระเริงไปแสงนี้จนลืมพักผ่อน ในอีกนัยหนึ่ง.  มากกว่านั้น,  กากลับเรียนรู้  และปรับพฤติกรรม,  โดยการตีตัวออกห่างจากแสงประดิษฐ์ รวมถึงสิ่งเร้าประดิษฐ์มากมาย  ไปสู่รูปแบบบริบทของสิ่งแวดล้อมที่เคยอาศัยกันมาหลายชัวอายุตามธรรมชาติ. ในเชิงประจักษ์, จึงไม่แปลกใจที่สิ่งมีชีวิตอื่นนอกจาก “มนุษย์”  ,ที่เรียกว่า “สัตว์ป่า”, จึงพยายาม​ “หนี” กลับสู่สมดุลเดิม, พฤติกรรมแบบเดิม  และบริบทแบบเดิมตามธรรมชาติ, แล้วทิ้งเหลือไว้เพียงมนุษย์ในเมืองที่มีแสงประดิษฐ์เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงของประดิษฐ์ต่างต่าง.

พฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงการพยายามตอบสนองสิ่งเร้าขั้นสุดท้าย ก่อนการ “สมยอม” ปรับสมดุลเดิมไปสู่สมดุลใหม่. ในรายละเอียดแล้ว, การสมยอมปรับสู่สมดุลใหม่นี้จะเกิดขึ้นภายใต้ระดับเงื่อนไขหนึ่ง, นั่นคือ  การหายไปเกือบหมด หรือหมดของบริบทเดิม หรือระดับที่ไม่สามารถประพฤติตามรูปแบบเดิมได้นั่นเอง.  คงไม่เป็นที่แปลกใจเลย, อะไรบ้างที่ทำให้บริบทเดิมของกาหายไป, ตัวอย่างที่สามารถนำมาประกอบได้ชัด อาทิ  การตัดไม้ทำลายป่าด้วยวัตถุประสงค์ต่างต่างทำให้ต้นไม้ บ้านของกาหายไปจำนวนมาก, การใช้พื้นที่เดิมของต้นไม้ หรือป่ารองรับที่พักอาศัย และประกอบอาชีพของมนุษย์ที่หลายหลาย  และจำนวนเพิ่มมากขึ้น, การสร้างป่าประดิษฐ์หลากขนาดตามการใช้งานทดแทนป่าธรรมชาติ  และใช้ประกอบกับสถานที่ตามหน้าทีีการใช้งาน, รวมถึงการ “ถวิลหา” ของแปลก, ของที่เคยเป็นธรรมชาติ,  ของมนุษย์ผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  เป็นต้น

ด้วยเหตุทั้งหมดข้างต้น,  กา  จึงจำต้องสมยอมปรับสมดุลใหม่ภายใต้บริบทใหม่  อาทิ  การพักอาศัยตามป่าประดิษฐ์สองข้างถนน,  การพักอาศัยใต้หลังคาบ้านของมนุษย์,  การหากินร่วมพื้นที่ใช้งานของมนุษย์  รวมถึงสวนสาธารณ, กล่าวได้ว่า  พฤติกรรมของ กา  ต้องเกิดภายใต้บริบทเดียวกับมนุษย์. ด้วยความถดถอยของสัญชาตญาณทางลบนานาประการต่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช้มนุษย์ และการเติบโตของสัญชาตญาณทางบวกมากมายต่อส่ิงอื่นยกเว้นมนุษย์ (ในทางกลับกัน, มีการเติบโตของสัญชาตญาณทางลบนานาประการต่อเพื่อนมนุษย์  และการถดถอยของสัญชาตญาณทางบวกมากมายต่อเพื่อนมนุษย์), กา  คงไม่เป็นที่พึงประสงค์ในยามปกติ  (อาจจะต้องการในยามรณรงค์ของแปลก, โดยธรรมชาติ)  และถูกป้องกันด้วยวิธีการ,  รวมถึงเครื่องมือต่างต่างที่มนุษย์เราเราจะรังสรรค์ได้ในที่สุด.

สุดท้าย, หากวันหนึ่งในอนาคต  กา  สามารถเรียนรู้  และปรับพฤติกรรมจนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐได้,  คงเป็นเรื่องแปลกใหม่น่าสนใจทีเดียว.  ยกตัวอย่างเช่น  กา  ตัวหนึ่งหากินตอนเวลากลางคืนในเมืองที่มีแสงไฟจนถึงเช้า, ด้วยเหตุที่หาอาหารไม่พออยู่รอดในวันนั้น, แล้วกลับไปนอนในรังใต้หลังคาบ้านมนุษย์หลังหนึ่งจนคล้อยบ่าย.  ปรากฎเช่นนี้แล้ว, เราคงต้องเริ่มแก้ไข  แล้วเรียนรู้ทฤษฎีต่างต่างใหม่กันเร็วมากขึ้น  และเร่งในวันข้างหน้า.

ปล.  ขยายความ

ความถดถอยของสัญชาตญาณทางลบต่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช้มนุษย์  หมายถึงการลดลงของระดับสัญชาตญาณทางลบ, การตาย, เกิดจากภาวะมีอำนาจต่อรองมากกว่าโดยทุนต่างต่าง  โดยการจัดการกำจัด,  แยกออก,  และลดปริมาณจนควบคุมได้. ยกตัวอย่างเช่น  มนุษย์กลัวสัตว์ป่าน้อยลง,  มนุษย์กลัวความมืดลดลง,  มนุษย์ลำบากได้น้อยลง, และมนุษย์รับความเสี่ยงได้น้อยลง  เป็นต้น

สัญชาตญาณการอยู่รอด  ถูกกำหนดโดยหลักจาก ความอยาก ความเชื่อมั่น หรือกิเลส  อาทิ  ความรัก, ความละโมภ, ความหิว, และความร่วมมือ  เป็นต้น

สัญชาตญาณการตาย  ถูกกำหนดโดยหลักจาก  ความกลัว หรือความไม่อยาก อาทิ  การรังเกียจ, การเกลียด, การหวาดระแวง, และการอิจฉาริษยา  เป็นต้น

ก่อนที่พระอาทิตย์จะลับของฟ้า,  แสงสุดท้ายคงเป็นสัญญาณที่ไม่มีความหมายต่อการเตือนให้หยุด  หรือชะลอการทำลาย  ผ่านกิจกรรมทางสังคม,  เศรษฐกิจ,  และการเมืองอีกต่อไป,  แสงสุดท้ายคงเป็นได้เพียงสัญญาณของความสวยงามเล็กน้อยของธรรมชาติที่จะเหลืออยู่ท้ายสุดก่อนที่จะเริ่มต้นทำลายอีกครั้งในวันพรุ่งที่พุ่งอย่างไม่รู้จบ.

Read Full Post »

triamboy

Talay Noi

(โดยผู้เขียน  ถ่ายที่  เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าทะเลน้อย,  พัทลุง)

 

ก่อนที่พระอาทิตย์จะลับของฟ้า,  แสงสุดท้ายคงเป็นสัญญาณที่ไม่มีความหมายต่อการเตือนให้หยุด  หรือชะลอการทำลาย  ผ่านกิจกรรมทางสังคม,  เศรษฐกิจ,  และการเมืองอีกต่อไป,  แสงสุดท้ายคงเป็นได้เพียงสัญญาณของความสวยงามเล็กน้อยของธรรมชาติที่จะเหลืออยู่ท้ายสุดก่อนที่จะเริ่มต้นทำลายอีกครั้งในวันพรุ่งที่พุ่งอย่างไม่รู้จบ.

 

โชคดีเป็นอย่างยิ่ง, อย่างน้อยที่สุดธรรมชาติยังกำหนดให้ตะวันลับของฟ้า  และสายหมอกเย็นเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่, กฎของธรรมชาติข้อนี้เองที่ทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่ได้รับสัญญาณของการหยุด  หรือเกือบหยุดการกระทำกิจกรรมทางสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมืองเสียที  เว้นเสียแต่กิจกรรมส่วนบุคคลที่ข้องเกี่ยวกับการบริโภคเพื่ออยู่รอด  อาทิ  การบริโภคอาหารเย็น,  การอบรมสั่งสอนบุตร หลาน,  การหายใจ,  และการหลับพักผ่อน,  เป็นต้น.

 

ความมืด, ผลจากการที่ปราศจากการแผ่รังษีของพระอาทิตย์,  ความเงียบ,  ผลจากการที่ปราศจากการหยุดกิจกรรมทำลาย,  ความหิว,  ผลจากการใช้พลังงานในร่างกายตลอดการสว่าง,  ความกลัว หวาดระแวง,  ผลจากการมองไม่เห็นสิ่งรอบตัว,  สิ่งต่างต่างนี้ล้วนถูกกำหนดอยู่ในสัญชาตญาณของเราเราแต่ละคนมากน้อยแตกต่างกันไป.  ทั่วไปแล้ว,  สิ่งเหล่านี้ถูกมอง  หรือให้คุณค่าในทางลบ  ทางไม่ดีโดยเสมอมา,  ด้วยเหตุนานาประการ.  ในทางกลับกัน,  ถ้ามองให้ดี,  สิ่งเหล่านี้เองก็ให้ประโยชน์แก่เราเราเช่นกัน.

 

ด้วยความ  “ต้องการหลุดพ้นจากสิ่งต่างต่าง,  ที่ถูกให้คุณค่าทางลบเหล่านี้,  เราเรา  ผู้ได้รับการศึกษาทั้งหลายพยายามฝืนกฎ  หรือเงื่อนไขทางธรรมชาติเหล่านี้  โดยการคิดค้น  ระบบ  ส่ิงของ  ค่านิยมนานาประการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเราให้มากขึ้นต่อการดำรงอยู่ในชีวิตยามไม่ปกติตามธรรมชาติ  อย่าง  ยามคำ่คืนนี้.

FOG(โดยผู้เขียน  ถ่ายที่  ฐานพระธาตุภูสี,  หลวงพระบาง, ลาว)

 

แสงไฟ ,ถูกคิดค้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของประสาทสัมผัสของการมองเห็น,  ทำให้กิจกรรมทางสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมืองถูกต่อขยายเวลาออกไป  อย่างมากสุด  คือ  ถึงยามรุ่งสาง  เมื่อรังษีจากพระอาทิตย์เริ่มแผ่เข้ามาสูโลก  และสัตว์โลก.  ทั้งยามค่ำคืนและยามสว่าง, เราเราสามารถประกอบกิจกรรมพื้นฐานได้เกือบเสมือนกันแล้ว,  ความหลายหลาย  และยาวนานของกิจกรรมต่างต่างจึงถือกำเนิดขึ้น.  เกือบละเลยเสียหมด,  เราเราทุกคนละเลยถึงขีดความสามารถของความเป็นมนุษย์,  ที่มีองค์ประกอบกิจกรรมที่จำเป็นหลายอย่าง- ซ่อมแซม,  เสริมสร้าง,  และทำลายตลอดทั้งยามสว่าง.  ด้วยการฝืนขีดความสามารถของธรรมชาติ  รวมถึงเราเราเอง,  ทำให้กิจกรรมส่วนใหญ่จึงข้องเก่ียวกับการทำลายเป็นส่วนใหญ่  อาทิ  ทำลายพลังงานในตนเอง,  ทำลายร่างกาย  สมองตนเอง,  ทำลายธรรมชาติ,  ทำลายระบบ,  ทำลายสถาบัน, เป็นต้น

 

ก่อนที่พระอาทิตย์จะลับของฟ้า,  แสงสุดท้ายคงเป็นสัญญาณที่ไม่มีความหมายต่อการเตือนให้หยุด  หรือชะลอการทำลาย  ผ่านกิจกรรมทางสังคม,  เศรษฐกิจ,  และการเมืองอีกต่อไป,  แสงสุดท้ายคงเป็นได้เพียงสัญญาณของความสวยงามเล็กน้อยของธรรมชาติที่จะเหลืออยู่ท้ายสุดก่อนที่จะเริ่มต้นทำลายอีกครั้งในวันพรุ่งที่พุ่งอย่างไม่รู้จบ.

 

เช่นเดียวกัน,  ภูสี,  พระธาตุที่ตั้งอยู่จุดสูงสุดของใจกลางเมืองหลวงพระบาง  สาธารณรัฐประชาชนลาว,  กลายเป็นสถานท่ีสำคัญของนักท่องเที่ยว,  ผู้ถวิลหาบรรยากาศสวยงามของพระอาทิตย์ตก.  มากกว่านั้น,  ภูสีเป็นที่เคารพสักการะของชาวหลวงพระบาง  และชาวลาวเสมอมาจวบปัจจุบัน,  ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงสถานที่เสพบรรยากาศสวยงามเพียงชั่วขณะหนึ่งของนักท่องเที่ยวแต่ละคนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเปิดที่ตั้งประเทศรับชนต่างชาติมากหน้าหลายตามากขึ้น.

ปรากฎดังนี้

 

Phusi01

Phusi02

Phusi03

Phusi04

Phusi05

Phusi06

Read Full Post »