recommendare
สรุป
นโยบายเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ ปี พ.ศ. 2552
กับ การรับมือภาวะถดถอยเศรษฐกิจโลก
ความมีดังนี้
1. มาตรการระยะสั้นเพื่อรักษาระดับการว่างงาน
• รักษาเสถียรภาพภาคการเงินและตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสภาพคล่องในตลาดเงิน สนับสนุนการเงินแก่ผู้ส่งออก/นําเข้า
• สนับสนุน Korea Ex-Im Bank ในการรับประกันและค้ําประกันการส่งออกแก่ผู้ส่งออก
• เร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนจํานวนร้อยละ 60 ในครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินแก่ภูมิภาค โดยเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ ปรับปรุงระบบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณใหม่ให้สะดวกยิ่งขึ้น
• ใช้เงินงบประมาณกระตุ้นการจ้างงาน รักษาระดับการจ้างงาน สร้างงานใหม่รับเด็กเพิ่งจบการศึกษาเข้าฝากงานมากขึ้น ทั้ง SMEs และงานในภาครัฐ รวมทั้งจ่ายเงินอุดหนุนแก่เอกชนเพื่อให้มีการจ้างงานต่อไป
• เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเครือข่ายทางสังคมและเศรษฐกิจ (Economic and Social Safety Net) ให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ยากจนใหม่ (new poverties) และผู้มีรายได้ต่ําที่ได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจ
• บรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วนแก่ผู้มีปัญหาที่อยู่อาศัย หรือผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ
• ให้การศึกษาและสวัสดิการทางสังคมที่ดีขึ้น โดยเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่โรงเรียนเพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียน รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่พ่อแม่มีรายได้ต่ํา
• เพิ่มวงเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) และค้ําประกันแก่ชาวนา ชาวประมง SMEs รวมทั้ง ขยายโควต้าการลดอัตราภาษีศุลกากรสําหรับการนําเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ได้แก่ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร แป้ง อาหารสัตว์ ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น
• ปรับปรุงกฎหมายนิติบุคคลเพื่อจูงใจให้มีการจ้างงานมากขึ้น
2. นโยบายสําหรับอนาคต
• ปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคการเงินและภาคเอกชน ให้การช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์ในการเพิ่มทุน เพิ่มสภาพคล่องแก่ภาคเอกชน
• สนับสนุนธนาคารพาณิชย์แก่ปัญหาสภาพคล่องเอง โดยการเพิ่มทุน การชะลอการจ่ายเงินปันผล รวมทั้งการออกหุ้นกู้เพื่อระดมเงินทุนเอง
• สนับสนุนธนาคารพาณิชย์แก้ปัญหาหนี้เสียผ่าน Korea Asset Management Corp.
• แก้กฎหมายล้มละลายให้มีความคล่องตัว เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้างของเอกชนมากขึ้น
• พัฒนาผู้นํารุ่นใหม่ (Global young adult leadership program) จํานวน 100,000 คน เพื่อรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต เมื่อเศรษฐกิจฟนตัว
• ส่งเสริมการสร้าง Green growth infrastructure
• ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานและภาคอุตสาหกรรม ลดกฎระเบียบการจ้างงานพนักงานชั่วคราว
• ปรับปรุงค่าจ้างขั้นต่ํา โดยจะมีการแก้กฎหมายค่าจ้างเพื่อเพิ่มโอกาสการจ้างงานมากขึ้นในอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม
• ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิรูป National Agricultural Cooperative Federation และ National Federation of Fisheries Cooperatives
• ส่งเสริมการเป็นผู้นําในเวที G-20 และการจัดทําเขตการค้าเสรี
3. มาตรการเพิ่มศักยภาพและฟนฟูเศรษฐกิจ
• สนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่ การวิจัยและพัฒนา
• ศึกษาค้นคว้า new growth engine เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเกาหลี ได้แก่ green industry อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมทั้งธุรกิจบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
• เพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาสําหรับอุตสหกรรมที่เป็นกลจักรสําคัญในการเจริญเติบโต ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจใหม่ๆ
• สนับสนุน green industries โดยใช้ green technology สําหรับอุตสาหกรรมประเภท semi- conductor เหล็ก และอุตสาหกรรมยานยนต์
• สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี่แหล่งพลังงานหลักๆ 9 ประเภท ได้แก่ Solar power, wind power, hydrogen fuel battery, clean fuel, IGCC, CCS, storing energy, LED, Power-IT
• ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศของเอกชนเกาหลี
• ส่งเสริมการซื้อกิจการต่างประเทศที่ทําธุรกิจเกี่ยวกับแหล่งพลังงานและเทคโนโลยี่ประเภท low-carbon green technology โดยใช้บรรษัทเพื่อการลงทุนแห่งชาติ ซึ่งเป็นกองทุนที่บริหารเงินทุนสํารองระหว่างประเทศ ( Korea Investment Corporation : KIC ) เป็นเครื่องมือในการร่วมลงทุน
• จัดตั้ง Global Korea Network เพื่อดึงดูดให้ชาวต่างประเทศที่มีศักยภาพเข้ามาอยู่ในเกาหลี โดยปรับปรุงระบบการยื่นขอวีซ่าและคนเข้าเมืองเพื่อเอื้ออํานวยแก่ชาวต่างประเทศที่มีความสามารถโดยเฉพาะในสาขาการเงินและวิทยาศาสตร์เข้ามาทํางานในประเทศ
อ้างอิง
Ministry of Strategy and Finance of Korea