Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Posts Tagged ‘weapon’

triamboy

MAN IS THE ONLY CREATURE THAT CONSUMES WITHOUT PRODUCING


George Orwell in “Animal Farm” 

 

พฤติกรรมมนุษย์นั้นถ้าหากพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วกล่าวได้ว่ามีความหลายหลายมากจนหลายคนไม่อยากทำความเข้าใจ  และพยายามค้นหาเหตุเบื้องหลังที่ทำให้ตัวเราเองแสดงพฤติกรรมต่างๆ  ออกมา  ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่าย  การทำบุญ  รวมถึงการช่วยเหลือผู้อื่นในยามปกติ  และเดือดร้อน  ยิ่งคิดแล้วยิ่งปวดหัว  ในตอนแรกนั้นก็มีคนกลุ่มหนึ่งพยายามศึกษา  นั้นคือ  นักจิตวิทยา  ได้พยายามจำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็นสองส่วน  ส่วนแรกคือ  พฤติกรรมอัตโนมัติ  หรือไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  การสะดุ้งเมื่อโดนของแหลมมีคม  การกระพริตา  เมื่อมีสิ่งกระทบตา  และการจาม  เมื่อมีสิ่งที่มาระคายเคือง  เป็นต้น  และส่วนหลังเป็นพฤติกรรมที่สาามรถควบคุมได้โดยสติของมนุษย์  ประกอบด้วย  ปัญญา  และอารมณ์  แต่นักจิตวิทยาเชื่อว่าส่วนหลัง-อารมณ์-นั้นมีอิทธิพลมากกว่าปัญญา  ทำให้เราทุกคนยังคงมีโลภ  โกรธ  หลง  อย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยง  และหลุดพ้นได้

 

ในอีกมุมมองหนึ่งข้าพเจ้าขอนำเสนอการพิจารณาพฤติกรรมมนุษย์ภายใต้กรอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม  และต้นทุน  โดยพิจารณาเงื่อนไขของพฤติกรรมส่วนหลัง  หรือพฤติกรรมที่ควบคุมได้โดยสติมนุษย์  ดังนี้

 

พฤติกรรมของมนุษย์นั้นมาจากการตัดสินใจของตัวมนุษย์เอง  ซึ่งมีแรงจูงใจเป็นปัจจัยกำหนดสำคัญต่อการตัดสินใจ  ซึ่งกำหนดพฤติกรรมในที่สุด  แรงจูงใจนั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับต้นทุนของที่เกี่ยวเนื่องกับการตัดสินใจ  ซึ่งการตัดสินใจแต่ละเรื่องของมนุษย์นั้นจะมีทางเลือกต่างๆ  โดยเลือกทางเลือกที่ตอบจุดประสงค์หลักของการตัดสินใจนั้น  คือ  ทางเลือกที่มีผลได้มากที่สุด  หรือไม่ก็มีผลเสียน้อยที่สุด  โดยมีต้นทุนที่เกี่ยวข้อง 2  ส่วน  ดังนี้

 

1.  ต้นทุนการเข้าถึง (Access Cost)  หมายถึงต้นทุนที่ให้  หรือสร้างโอกาสแก่ผู้บริโภค  เป็นเงื่อนไขที่ใช้ประกอบการตัดสินใจหรือเรียกได้ว่าแรงจูงใจ  ก่อนที่จะนำไปสู่การตัดสินใจ  เพื่อแสดงพฤติกรรมออกมาทางใดทางหนึ่ง  ยกตัวอย่างเช่น


ต้นทุนการเข้าถึงของผู้บริโภคสบู่  คือ  ต้นทุนการได้มาซึ่งข้อมูล อาทิ  ฉลากบอกประโยชน์  ส่วนประกอบ  เป็นต้น  ราคา

ต้นทุนการเข้าถึงของผู้บริโภคกฎหมาย  คือ  ต้นทุนการรวบรวมจำนวนคนเพื่อลงชื่อเสนอร่างกฎหมาย

ต้นทุนการเข้าถึงของผู้บริโภคความมั่นคงของประเทศ หรือการไม่มีสงคราม  คือ  ต้นทุน หรือราคาอาวุธยุทโธปกรณ์

ต้นทุนการเข้าถึงของผู้บริโภคเพื่อน(มีเพื่อน)  คือ  ต้นทุนการรู้จักกันครั้งแรก  ความยากง่ายในการทำความรู้จัก

ต้นทุนการเข้าถึงของผู้บริโภคบุญ  คือ  ต้นทุน  หรือราคาสิ่งของที่บริจาคให้แก่กัน  ความยากง่ายของการบริจาค

ฯลฯ

 

หากให้เข้าใจง่ายมากขึ้นลองพิจารณาดูว่าเราต้องการ(บริโภค)อะไร  แล้วพิจารณาว่าความต้องการนั้นต้องได้มาซึ่งอะไรบ้าง  เพื่อบรรลุความต้องการนั้น  ทั้งนี้สินค้าบางอย่างขึ้นกับมุมมองของสังคม  โดยเฉพาะสินค้าทางสังคม  ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อบริบทเปลี่ยนไปตามกาล  เช่น  ถ้าสังคมมองว่าการบริจาคเลือดเป็นการทำบุญ  นั่นคือ  การที่เราสามารถไปบริจาคเลือดเพื่อทำบุญ  เป็นต้นทุนการเข้าถึงการทำบุญ  ซึ่งในอนาคตสังคมอาจให้คุณค่าอย่างอื่นที่ต้นทุนการเข้าถึงต่ำ หรือสูงกว่านี้เป็นการทำบุญ   ยังงัยเสียแล้วลองฝึกใช้กับตัวอย่างข้างต้นดู

 

โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการเข้าถึง  และแรงจูงใจของมนุษย์มีความสัมพันธ์ตรงข้าม  นั่นคือ  ถ้าต้นทุนการเข้าถึงลดลง  แรงจูงใจของมนุษย์ในการเข้าหาสิ่งนั้นมากขึ้น  หรือในทางกลับกันถ้าต้นทุนการเข้าถึงเพิ่มขึ้น  แรงจูงใจของมนุษย์ในการเข้าหา  หรือให้ความสนใจสิ่งนั้นลดลง  จากตัวอย่างข้างต้นพบว่า

 

ต้นทุนในการเข้าถึงของผู้บริโภคสบู่ลดลง  ไม่ว่าจะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง  หรือหลายสาเหตุ  เช่น  ราคาลดลง  ข้อมูลฉลากชัดเจน  มีคุณสมบัติแตกต่างชัดเจน  มีการจัดวางในชั้นวางที่สดุดตา  เป็นต้น  พบว่าผู้บริโภคจะมีแรงจูงใจเข้าหา  ให้ความสนใจสบู่นั้นมากขึ้น  หรือในทางกลับกันลดลง

ต้นทุนในการเข้าถึงการบริโภคกฎหมายลดลง  ด้วยสาเหตุต่างๆ  เช่น  จำนวนผู้เข้ารายชื่อเสนอร่างกฎหมายลดลง  หรือความเข้าใจง่ายของกฎหมาย  เป็นต้น  พบว่าผู้บริโภคกฎหมายมีแรงจูงใจที่จะเสนอร่างกฎหมาย  หรือศึกษา  พิจารณากฎหมายมากขึ้นตามลำดับ

ต้นทุนการเข้าถึงการบริโภคความมั่นคงของประเทศ  หรือการไม่มีสงครามลดลง  ด้วยสาเหตุดังตัวอย่างนี้  คือ  ราคาอาวุธยุทโธปกรณ์ลดลง  หรือประเทศเพื่อนบ้านมีความมั่นคั่ง  เสถียรภาพมากขึ้น  เป็นต้น  ทำให้ผู้บริโภคความมั่นคงของประเทศมีแรงจูงใจหาอาวุธเพิ่มมากขึ้น  หรือมีแรงจูงใจที่จะเข้าหาเพื่อนบ้านเพื่อยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่มากขึ้นสำหรับกรณีหลัง

ต้นทุนการเข้าถึงของผู้บริโภคเพื่อนลดลง  ไม่ว่าสาเหตุใดตามตัวอย่าง  เช่น  การเปิดรับเพื่อนของผู้บริโภค  การเปิดรับเพื่อนของเพื่อน  เป็นต้น  พบว่าผู้บริโภคเพื่อนมีแรงจูงใจเข้าหาเพื่อนมากขึ้น

ต้นทุนการเข้าถึงของผู้บริโภคบุญลดลง  เช่น  การเปลี่ยนบรรทัดฐานการบริจาคเลือดเป็นการทำบุญ  หรือการงดเหล้าเข้าพรรษาเป็นการได้บุญ  เป้นต้น  พบว่าผู้บริโภคบุญมีแรงจูงใจในการบริจาคเลือดมากขึ้น  หรืองดเหล้าในช่วงเข้าพรรษามากขึ้นเพื่อบริโภคบุญ

 

2.  ต้นทุนการบริโภคสะสม  (Accumulated Consumption Cost or Expense)  คือ  ต้นทุนเนื่องมาการบริโภคสิ่งนั้นๆ  หรือการที่ได้ตอบสนองความต้องการด้วยสิ่งๆหนึ่ง  ซึ่งต้นทุนการบริโภคความต้องการแต่ละอย่างต้องเป็นต้นทุนหลายครั้งต่อเนื่องกัน (Flow)  แล้วสะสมไปเรื่อยๆ (Accumulation)  จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วสามารถแสดงต้นทุนการบริโภคสะสมได้ดังนี้


ต้นทุนการบริโภคสะสมสบู่  คือ  มูลค่าสบู่ทั้งหมดที่บริโภค  (ปริมาณคูณราคา)

ต้นทุนการบริโภคสะสมกฎหมาย  คือ  ต้นทุนทั้งหมดตั้งแต่การเสนอร่างกฎหมาย  กระทั่งได้รับการพิจารณา (ไม่ว่าจะผ่านความเห็นชอบหรือไม่จากรัฐสภา) จากรัฐสภา  รวมถึงการประกาศและบังคับใช้

ต้นทุนการบริโภคสะสมความมั่นคง  คือ  มูลค่าอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จัดซื้อทั้งหมด

ต้นทุนการบริโภคสะสมเพื่อน  คือ  ต้นทุนจากการกระทำสิ่งต่างๆแก่เพื่อน  เช่น  ให้เพื่อนยืมสมุดจดไปถ่ายเอกสาร  ให้เวลาเพื่อนไปเตะบอล  เล่นเกมส์  ดื่มเหล้าเมื่อเพื่อนชวน  ให้คำปรึกษาต่างๆ  เป็นต้น

ต้นทุนการบริโภคสะสมบุญ  คือ  มูลค่าของเลือดที่บริจาค  เวลาที่เสีย  เป็นต้น

 

จะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการบริโภคสะสม  และแรงจูงใจสู่การแสดงพฤติกรรมบริโภคนั้นมีความสัมพันธ์ทางเดียวกัน  คือ  ต้นทุนการบริโภคสะสมลดลง  แรงจูงใจการแสดงพฤติกรรมนั้นลดลง  หรือในทางกลับกันเมื่อต้นทุนการบริโภคสะสมนั้นเพิ่มขึ้น  แรงจูงใจในการแสดงพฤติกรรมนั้นเพิ่มขึ้น   สามารถอธิบายตัวอย่างข้างต้นได้ดังนี้

 

ต้นทุนในการบริโภคสะสมสบู่ยี่ห้อเดิมมากขึ้น (ใช้มาตลอด)  แรงจูงใจในการบริโภคสบู่ยี่ห้อเดิมมากขึ้น  หรือในทางกลับกัน

ต้นทุนในการบริโภคสะสมกฎหมายมากขึ้น (ผลักดัน  ทำวิจัย  หรือเครื่องมืออื่นๆ) แรงจูงใจในการบริโภคกฎหมายนั้นมากขึ้น  หรือ…

ต้นทุนในการบริโภคสะสมความมั่นคงมากขึ้น  (สะสมอาวุธมาก)  แรงจูงใจในการบริโภคความมั่นคงมากขึ้น  หรือ…

ต้นทุนในการบริโภคสะสมเพื่อนมากขึ้น  (ผูกพันธ์มาก)  แรงจูงใจในการบริโภคเพื่อนมากขึ้น  หรือ…

ต้นทุนในการบริโภคสะสมบุญมากขึ้น  (สั่งสมบุญมาก)  แรงจูงใจในการบริโภคบุญมากขึ้น

หลังจากที่ได้อธิบายต้นทุนทั้งสองมาอย่างละเอียดแล้ว  จะได้กล่าวถึงส่วนของการวิเคราะห์

 

การวิเคราะห์  และสรุปผล

ถ้าหากเราตั้งจุดประสงค์ของการตัดสินใจ  หรือของแสดงออกพฤติกรรมแล้ว  กระบวนการในการสร้างแรงจูงใจเพื่อตอบสนองการตัดสินใจ  หรือการแสดงพฤติกรรม  โดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนทั้งสอง  สามารถอธิบายได้  4  ทางเลือกดังนี้

 

1.  ต้นทุนการเข้าถึง  และต้นทุนการบริโภคสะสมลดลง  พบว่า  ผู้บริโภคมีแรงจูงใจที่จะเข้าหา  หรือสนใจสิ่งนั้น  แต่หลังจากบริโภคสิ่งนั้นแล้วมีแรงจูงใจที่จะบริโภคลดลง  เช่น  การบริโภคกฎหมายเมืองไทยเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน  ทำให้เกิดการบิดเบือนพฤติกรรมผู้เสนอร่าง  และผู้รับร่าง  โดยผู้รับร่างอาจตั้งใจสร้างความปั่นป่วนแก่สังคมได้  และไม่จำเป็นต้องผลักดันให้ผ่าน  ในทางกลับกันผู้รับร่างอาจบิดเบือน  แก้ไขกฎหมายที่รับมาจากประชาชน  แล้วผ่านรัฐสภา  หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ  การศึกษาไทย  พบว่า นักเรียนมีสถานศึกษาให้เลือกมากมายทั้งของรัฐ  และเอกชน  ใกล้บ้านและไกลบ้าน  ทำให้นักเรียน  นักศึกษาแค่เข้าไปเรียนโดยไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา  มีการหนีเรียน  ไม่สนใจการสอน  อาจารย์ก็มีเวลาว่างทำอย่างอื่นมากขึ้นเพราะนักเรียน  นักศึกษาแสดงพฤติกรรมให้เห็นว่าไม่ต้องสอนมากก็ได้ไม่ต้องการ  หรือการบริโภคเพื่อนก็เช่นกันถึงแม้นจะเปิดรับเพื่อนใหม่  แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์่ต่อมามากขึ้น  ในที่สุดแล้วก็ไม่สนิทกัน  (บริโภคลดลง)

 

2.  ต้นทุนการเข้าถึง  และต้นทุนการบริโภคสะสมเพิ่มขึ้น  พบว่า  ผู้บริโภคมีแรงจูงใจน้อยที่จะเข้าถึง  สนใจสิ่งนั้น  หรือไม่คำนึงถึงเลย  แต่ผู้ที่เข้าไปแล้วพบว่ากลับมีการบริโภคสิ่งนั้นมากขึ้น  ตัวอย่างเช่น  การบริโภคเพื่อนที่ไม่ได้เปิดรับเรามาก  ทำให้เพื่อนจำนวนมากไม่ค่อยได้เข้าหา  แต่เมื่อได้มีโอกาสทำความรู้จัก  และสานปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องแล้วไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม  การบริโภคเพื่อนก็เพิ่มมากขึ้น  (สนิทกันมาก ไปมาหาสู่บ่อย  ปรึกษาได้ทุกเรื่อง)    อีกตัวอย่างคือ  การศึกษาของสถานศึกษาที่มีคุณภาพ  ชื่อเสียง  นักเรียน  นักศึกษาจำนวนมากไม่คิดแม้กระทั่งจะมาสอบ  หรือมาเลือก  มีเพียงคนจำนวนน้อยของสัมคม  มีแรงจูงใจต้องพยายามสอบให้ผ่านการคัดเลือกเพื่อที่จะได้เข้าไปเรียน  เมื่อเข้าได้แล้วต้องพยายามเรียนอย่างแข็งขัน  และแข่งขัน  เพราะต้นทุนการบริโภคสูงเนื่องมาจากการแข่งขัน  (ต้องแข่งสะสมความรู้  ไม่ว่าผ่านเครื่องมือใดก็ตามที)

 

3.  ต้นทุนการเข้าถึงเพิ่มขึ้น  และต้นทุนการบริโภคสะสมลดลง  พบว่า  ผู้บริโภคส่วนมากมีแรงจูงใจจะไม่เข้าหา หรือเกือบจะไม่ให้ความสนใจ  หรือไม่คิดถึงเลย  และสำหรับคนที่ได้บริโภคแล้ว  ก็จะบริโภคลดลง  เช่น  การบริโภคกฎหมายเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชนก่อนปี  พ.ศ.  2540  เนื่องจากไม่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนโดยตรงสามารถเสนอร่างกฎหมายได้  ทำให้ไม่มีประชาชนคนไหนมีแรงจูงใจที่จะไปเสนอร่างกฎหมาย  และอาจจะไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เลย  และคนที่พยายามก็ตามถึงแม้นจะเสนอผ่านตัวแทนโดยการเลือกตั้ง  ก็ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายนั้นจะไปถึงฝั่งเพราะต้นทุนการบริโภคต่ำหมายถึงเราไม่สามารถเข้าไปบริโภคได้เลย  จะทำให้ต้นทุนการบริโภคสูงยังงัยก็ไม่สูง  เพราะส.ส.ทำหน้าที่นี้  ยังไงแล้วก็สามารถแก้ไข  กฎหมายตามที่ตนเองต้องการได้  ทำให้บิดเบือนความต้องการของประชาชนได้  สุดท้ายแล้วประชาชนบริโภคกฎหมายลดลง

 

4.  ต้นทุนการเข้าถึงลดลง  และต้นทุนการบริโภคสะสมเพิ่มขึ้น  พบว่า  ผู้บริโภคมีแรงจูงใจที่จะเข้าถึง  สนใจสิ่งนั้น  และเมื่อได้บริโภคแล้วมีแรงจูงใจบริโภคมากขึ้น  เช่น  สบู่ที่มีความแตกต่างโดดเด่น  ราคาถูกก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค  เมื่อผู้บริโภคใช้ไปเรื่อยๆก็มีความเคยชินก็จะยังคงบริโภคไปเรื่อยๆ  หรือตัวอย่างระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกา  พบว่าต้นทุนการเข้าถึงลดลง  จากสาเหตุ  สถานศึกษาที่เพียงพอ และมีมาตรฐาน  การให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา  วัฒนธรรมการให้ทิปส์แก่เด็กๆที่ทำงาน  ทำให้ผู้บริโภคมีแรงจูงใจมากขึ้นที่เข้าถึงการเรียน  การศึกษา  และเมื่อบริโภคแล้วมีแรงจูงใจเพิ่มขึ้นที่จะตั้งใจเรียน  ศึกษาหาความรู้จนจบ  เพราะส่วนหนึ่งตระหนักถึงค่าเล่าเรียนที่สูง  (เดิมพันสูง)  ส่วนหนึ่งคือความสำคัญของการศึกษา

 

จากการวิเคราะห์ต้นทุนทั้งสอง  และยกตัวอย่าง  สามารถสรุปได้ว่า  แนวทางการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้มีการแสดงพฤติกรรมตรงกับวัตถุประสงค์  เจตนารมย์  และไม่บิดเบือนขึ้นกับเงื่อนไข 2  ประการ  ดังนี้

1.  เงื่อนไขพอเพียง  คือ  ต้นทุนการเข้าถึงลดลง – มีการให้โอกาสในการเข้าถึงสิ่งต่างๆ  อย่างทั่วถึง  และเท่าเทียมกัน

2.  เงื่อนไขจำเป็น  คือ  ต้นทุนการบริโภคสะสมเพิ่มขึ้น – มีการสะสม  สั่งสมการบริโภคสิ่งต่างๆ อย่างต่อเนื่อง  รวมถึง การคิดค้น  ความพยายาม  ผลักดัน และการมีส่วนร่วม

 

ยกตัวอย่าง

ทุกประเทศต้องการบริโภคความมั่นคง  ไม่มีสงคราม  เพราะฉะนั้นผู้ผลิตต้องจำหน่ายอาวุธยุทโธปกรณ์ในราคาที่แต่ละประเทศสามารถยอมรับได้ (ต่อรองได้- อย่างเช่นปัจจุบัน  การซื้อขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล)  นั่นคือ  ทำให้แต่ละประเทศมีแรงจูงใจ  สนใจอาวุธ  แล้วทุกประเทศต้องมีการจัดซื้ออาวุธสงครามอย่างต่อเนื่อง  หรือสะสมอาวุธนั่นเอง  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทุกประเทศก็จะต้องการบริโภคความมั่นคงมากขึ้น  ไม่อยากมีสงครามมากขึ้น  (เดิมพันมากขึ้น – แรงจูงใจในการบิดเบือนพฤติกรรมลดลง)  ในทางกลับกันถ้ามีการทำสงคราม  นั่นคือ  การนำมาสู่การสูญเสียเดิมพันจำนวนมากในพริบตาก็เป็นได้


สุดท้ายแล้วก็คือการบริโภคอย่างไม่หยุดยั้ง

Read Full Post »